Globaltech

Globaltech HVAC SYSTEM, CLEANROOM SYSTEM

GMP Pharmaceutical Facility Design
16/02/2017

GMP Pharmaceutical Facility Design

30/10/2016

เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาคืออะไร
โรคลีเจียนแนร์ หรือที่เรียกกันว่าโรคจากเครื่องปรับอากาศ เป็นโรคใหม่ที่มีการพูดถึงกันมากโรคหนึ่ง เนื่องจากพบผู้ป่วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเซีย รวมถึงประเทศไทยด้วย โรคลีเจียนแนร์ (Legionnaires disease) เป็นโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียชื่อ “ลีจิโอเนลลา” เป็นเชื้อที่เพิ่งพบใหม่ มีรายงานการเกิดโรคครั้งแรกในการประชุมทหารผ่านศึกที่เมืองฟิลาเดลเฟียในสหรัฐอเมริการเมื่อปี 2519 โรคนี้มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป เช่น โรคสหายสงคราม, โรคเครื่องปรับอากาศ และโรคผึ่งเย็น (Cooling Tower) เป็นต้น

เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา เป็นเชื้อที่ชอบอาศัยอยู่ในน้ำนิ่งเช่น น้ำในหอผึ่งเย็นของเครื่องปรับอากาศตามอาคารใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ศูนย์การค้า และโรงพยาบาล รวมไปถึงอ่างน้ำวน น้ำแร่ เครื่องทำน้ำร้อน และฝักบัวอาบน้ำที่ไม่มีการดูแลรักษาความสะอาดอย่างถูกต้อง ลักษณะของเชื้อนี้ผอมบาง อาจมีรูปร่างได้มากกว่าหนึ่งแบบ ขนาด 2-20 ไมครอน ย้อมติดสีแกรมลบ บางครั้งเปลี่ยนรูปเป็นชนิดตัวยาว มีหางตรง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์จะเจริญเติบโตได้รวดเร็ว โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์มีสองชั้น มีขนเล็กโบกสะบัดและมีแฟลกเจลลาหนึ่งอัน ช่วยให้เชื้อสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็ว

เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา แบ่งเป็น 16 ซีโรกรุ๊ป ตรวจพบ serogroup 1 เป็นสาเหตุของโรคมากที่สุด พบเชื้ออาศัยอยู่ในน้ำ เชื้อสามารถรวมกลุ่มกันอยู่ภายในระบบการส่งน้ำ โดยทั่วไปอุณหภูมิที่เหมาะต่อการเจริญเติบโตของเชื้อคือ 20-50 องศาเซลเซียส จากการสอบสวนการระบาดของโรคลีเจียนแนร์หลายครั้ง พบว่าหอระบายความร้อน และเครื่องควบแน่นให้ไอน้ำระเหยของระบบปรับอากาศเป็นแหล่งรังโรค โดยพ่นละอองอากาศที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ ซึ่งอาจแพร่กระจายไปยังผู้มีความไวรัสโดยตรงหรือผ่านไปสู่อากาศภายในอาคาร นอกจากนี้ยังพบเชื้อในอุปกรณ์ห้องน้ำ เช่น ก๊อกน้ำ ฝักบัว และเครื่องใช้ในการดูแลระบบทางเดินหายใจผู้ป่วย

โดยทั่วไปเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลา ไม่สามารถดำรงชีพอยู่อย่างปกติในร่างกายมนุษย์ และไม่สามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ เมื่อเข้าสู่ทางเดินหายใจ เชื้อจะแบ่งตัวในเซลล์แมคโครฟาจที่ถุงลมฝอยทันที ปกติเซลล์แมคโครฟาจทำหน้าที่เป็นด่านกักกันและทำลายเชื้อโรคที่สำคัญ โดยการกินเชื้อแบคทีเรียเข้าไปในเซลล์และมีระบบน้ำย่อยเข้าทำลายในที่สุด เมื่อเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาจับกับเซลล์แมคโครฟาจผ่านทางตัวรับของระบบคอมพลิเมนต์ จะเกิดเป็นช่องฟาโกโซมขึ้นภายใน ด้วยกลไกที่ยังไม่ทราบแน่ชัด เชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาสามารถหลุดรอดจากการย่อยสลายของเซลล์แมคโครฟาจได้ และยังหลั่งสารที่เป็นพิษออกมาจากตัวเชื้อเองอีกด้วย เชื้อเจริญเติบโตและแบ่งตัวภายในฟาโกโซม จนกระทั่งเซลล์แมคโครฟาจถูกทำลายปลดปล่อยเชื้อแบคทีเรียลีจิโอเนลลาออกมาสู่ภายนอกเซลล์อีกเป็นจำนวนมาก

สำหรับโรคลีเจียนแนร์นี้ มีรายงานว่าพบได้ทุกภูมิภาคของโลก ในสหรัฐฯ มีผู้ป่วยจากโรคนี้ปีละ 1,200-1,600 ราย ในอังกฤษพบ ปีละ 120-160 ราย ในส่วนของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า มีรายงานผู้ป่วยโรคดังกล่าว ตั้งแต่ พ.ศ. 2526-2532 จำนวน 9 ราย จากการศึกษาของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อมในปี 2542 - 2543 โดย เก็บตัวอย่างน้ำจากหอหล่อเย็น ถาดรองน้ำจากเครื่องปรับอากาศ ถังพักน้ำ ก็อกน้ำ และฝักบัว อาบน้ำในโรงแรม โรงพยาบาล และสำนักงานมาตรวจจำนวน 112 ตัวอย่าง ผลการตรวจพบเชื้อลีจิโอเนลลา 44 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 39 น้ำที่มีเชื้อดังกล่าวอยู่ หากสูดเข้าไปในลักษณะที่เป็นละอองน้ำ จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดได้

TRAINING
03/06/2016

TRAINING

ผลงานการประกอบและติดตั้ง
09/03/2016

ผลงานการประกอบและติดตั้ง

งานเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็น     #มหิดลศาลายา
18/02/2016

งานเปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็น #มหิดลศาลายา

ของขวัญเล็กๆน้อยๆ จากเรา
22/12/2015

ของขวัญเล็กๆน้อยๆ จากเรา

เพื่มความเย็นให้กับท่านลูกค้า จัดไป 20 RT/BTU โดยทีมงาน
31/08/2015

เพื่มความเย็นให้กับท่านลูกค้า จัดไป 20 RT/BTU โดยทีมงาน

งานสัมนาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
11/08/2015

งานสัมนาที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

การขนส่งท่อส่งลมเย็น ต้องมีการป้องกันต้องแต่โรงงานจนถึงหน้างาน
25/07/2015

การขนส่งท่อส่งลมเย็น ต้องมีการป้องกันต้องแต่โรงงานจนถึงหน้างาน

มีการอบรมให้ความรู้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง
03/07/2015

มีการอบรมให้ความรู้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง

รับออกแบบและผลิต
29/06/2015

รับออกแบบและผลิต

22/06/2015

GMP คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร มาทำความรู้จัก GMP กัน
วิวัฒนาการของ GMP ในประเทศไทย
2522 : เริ่มมีการนำหลักการของ GMP เข้ามาใช้
2527 : อย. เริ่มรณรงค์ให้โรงงานเริ่มใช้ GMP
2530 : อย. ออกเอกสาร GMP ฉบับแรก
2532 : อย. ได้ออก GMP Certificate ให้กับโรงงานที่ผ่านมาตรฐาน
2544 : อย. เริ่มใช้ GMP ฉบับใหม่ซึ่งยึดตามหลักของ WHO
2546 : กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ GMP-WHO เป็นกฎหมาย
2548 : อย. เริ่มมีแนวคิดที่จะยกระดับมาตรฐานการผลิต GMP โดยเปลี่ยนจาก WHO เป็น PIC/S
2554 : กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศให้ GMP-PIC/S เป็นกฎหมาย
จะเห็นได้ว่ามาตรฐานการผลิตยาในประเทศมีการพัฒนาและปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะการนำเอาข้อกำหนดอนุสัญญาระหว่างประเทศ ด้านการตรวจประเมินยาแห่งสหภาพยุโรป (PIC/S-Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme) มาใช้ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีความเข้มงวด, เคร่งครัดและครอบคลุม และแตกต่างจาก GMP-WHO ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตยาและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เทียบเท่ากับกับมาตรฐานของสหภาพยุโรป (EU-GMP)

ความแตกต่างระหว่าง GMP-WHO และ GMP-PIC/S

เมื่อเปรียบเทียบ GMP-WHO ของประเทศไทยที่มีข้อบังคับทั้งสิ้น 77 ข้อ กับ GMP-PIC/S ที่มีข้อบังคับทั่วไป 217 ข้อและข้อบังคับเพิ่มเติมอีกอย่างน้อย 240 ข้อรวมแล้วกว่า 457 ข้อ พบว่า ข้อบังคับต่างๆที่เพิ่มมานั้น เกิดจากการที่ PIC/S ให้ความสนใจในสภาวะแวดล้อมของการทำงานเพื่อลดความเสี่ยงของการปนเปื้อนจากสภาวะแวดล้อมสู่ผลิตภัณฑ์ เช่น ในระบบน้ำ มีการเลือกใช้ท่อสเตนเลสเกรด 316L (ชนิดเดียวกับที่ใช้ในร่างกายมนุษย์) มาใช้เป็นท่อส่งน้ำ เพื่อป้องกันการเกิดสนิม และลดโอกาศที่จะเกิด biofilm จากเชื้อแบคทีเรียและเมื่อมีการเชื่อมต่อ จะต้องใช้วิธีเชื่อมที่เรียกว่า Orbital welding หลังจากที่เชื่อมเสร็จจะต้องตรวจสอบโดยการส่องกล้อง Boroscope และถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน หลังจากนั้นจะต้องทำการ Passivation เพื่อกำจัดคราบเหล็กที่เกิดจากเชื่อมภายในท่อและเพื่อทำให้เกิดชั้น film ของ Chromium เพื่อป้องกันการเกิดสนิมในอนาคต หรือ ในระบบอากาศเอง ก็ได้มีการกำหนดความสะอาดในพื้นที่ผลิตยาที่ไม่ใช่ยาปราศจากเชื้อ (Non-Sterile products) ให้เป็นคลีนรูมเช่นเดียวกับยาปราศจากเชื้อ นอกจากนั้นยังมีการแบ่งสภาวะของห้องเป็น 2 สภาวะ คือ สภาวะพัก และสภาวะทำงาน ซึ่งทั้งสองสภาวะจะต้องมีการตรวจสอบความถูกต้อง เป็นต้น

20/06/2015
เมิร์สคอฟ คืออะไร  ทำไมชื่อ เมิร์สคอฟมาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) ...
19/06/2015

เมิร์สคอฟ คืออะไร

ทำไมชื่อ เมิร์สคอฟ
มาจากชื่อเต็มภาษาอังกฤษว่า Middle East respiratory syndrome coronavirus (MERS-CoV) หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ตะวันออกกลาง

ต้นกำเนิดของไวรัสเมิร์สคอฟ
ไวรัสชนิดนี้ต้นกำเนิดจากประเทศซาอุดิอาระเบียและยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีต้นกำเนิดจากคนหรือสัตว์หรือเชื้อใดแต่มีผลวิจัยระบุว่าอาจมีแพะเป็นพาหะนำเชื้อและเป็นเชื้อไวรัสใกล้เคียงไวรัสในค้างคาวสายพันธุ์หนึ่งทั้งนี้เมิร์สเป็นเชื้อไวรัสเดียวกับโรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome-SARS) ที่แพร่ระบาดอย่างหนักในเอเชียเมื่อปี พ.ศ. 2546

ความร้ายแรงของไวรัส
ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเมิร์สจะมีอาการคล้ายเป็นโรคระบบทางเดินหายใจมีไข้สูงไอหายใจหอบหายใจขัดถ่ายเหลว หากเป็นหนักจะเสียชีวิตทันทีภายใน 3 -4 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุเพศชาย โดยเชื้อจะอยู่ในละอองน้ำมูกน้ำลายผู้ป่วย ติดต่อได้ง่ายจากการไอจาม โดยผู้ป่วยเกือบทั้งหมดร้อยละ 96 มีโรคประจำตัว 1 โรคหรือมากกว่า ได้แก่เบาหวาน รองลงมาคือความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต

การป้องกันเบื้องต้น
1. กินร้อน- ช้อนกลาง- ล้างมือ
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปากเมื่อจาม
3. หลีกเลี่ยงไปสถานที่ที่ผู้คนแออัด
4. สวมหน้ากากอนามัยหากต้องไปสถานที่ที่ผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์และอุมเราะห์
5. หมั่นออกกำลังกายและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง

ประเทศที่ยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง
หลังจากเริ่มมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2556 เป็นต้นมา ยังพบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องใน11 ประเทศ ได้แก่ จอร์แดน ซาอุดีอาระเบีย กาตาร์ อังกฤษ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ฝรั่งเศส ตูนีเซีย เยอรมนี อิตาลี โอมาน และคูเวต ล่าสุดพบผู้ที่เสียชีวิตหลังจากติดเชื้อไวรัสเมิร์สคอฟที่ประเทศฟิลิปปินส์และมาเลเซีย โดยองค์การอนามัยโลกรายงาน ณ วันที่ 16 เมษายน 2557 พบผู้ป่วยยืนยัน 238 ราย เสียชีวิต 92 ราย

งานตรวจสอบคุณภาพเรายินดีบริการ
16/06/2015

งานตรวจสอบคุณภาพเรายินดีบริการ

16/06/2015

Airflow Patterns Test

Training for operator, QA personnel and technical staffs
16/06/2015

Training for operator, QA personnel and technical staffs

ติดตั้งระบบเครื่องส่งลมเย็น
15/06/2015

ติดตั้งระบบเครื่องส่งลมเย็น

เตรียมพื้นผิวในการยึดเกาะของ
15/06/2015

เตรียมพื้นผิวในการยึดเกาะของ

งานปรับปรุงระบบการผลิตให้ดีขึ้นโดย
15/06/2015

งานปรับปรุงระบบการผลิตให้ดีขึ้นโดย

งานเปิดตัวเครื่องปรับอากาศ
15/06/2015

งานเปิดตัวเครื่องปรับอากาศ

15/06/2015

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when Globaltech posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Videos

Shortcuts

  • Address
  • Alerts
  • Videos
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Health & Beauty Business?

Share