ลดเค็ม ลดโรค

  • Home
  • ลดเค็ม ลดโรค

ลดเค็ม ลดโรค โครงการลดการบริโภคเค็ม (โซเดียม) ในประเทศไทย

การบริโภคเกลือ (โซเดียม) ปริมาณมาก ในการปรุงรสชาติอาหารให้มีรสเค็ม เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

30/11/2024
28/11/2024

🚨เครือข่ายโรคไตฯ เตือนภัยเงียบจากโซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูป ชงรัฐพัฒนาฉลากอ่านง่าย......
เตือนภัยเงียบ!โซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ตัวการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทั่วโลก จากผลสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์ที่บริโภคในชีวิตประจำวัน เจอค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน

ภัยใกล้ตัวที่ผู้บริโภคอาจไม่รู้ว่ากำลังเป็นอยู่ มันคือ "โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง" หรือ non-communicable diseases (NCDs) เป็นกลุ่มโรคที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญทั่วโลก ตัวอย่างได้แก่ โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง โรคไตเรื้อรัง โรคอ้วนลงพุง โรคตับแข็ง โรคสมองเสื่อม แทบไม่น่าเชื่อว่า การรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ทั้งหวาน มัน เค็ม มากเกินไปถือเป็นตัวการใหญ่ ที่สำคัญมีภัยเงียบใกล้ตัวที่แฝงมากับ "โซเดียม" ที่เป็นส่วนผสมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส

วันนี้ ( 28 พ.ย.67 ) ที่โรงแรมทีเคพาเลช นายธนพลธ์ ดอกแก้ว นายกสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย บอกว่า ไม่ว่ารสชาติเดิมจากผลิตภัณฑ์จะอร่อยแค่ไหน บางคนก็หนีไม่พ้นกับการปรุงเพิ่ม จึงต้องเตือนไม่ควรกินโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้น สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย จึงร่วมมือกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการสำรวจข้อมูลโภชนาการในผลิตภัณฑ์อาหาร 2567 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคมที่ผ่านมา ครอบคลุมที่ผลิตในประเทศไทย และนำเข้าจากต่างประเทศ ซื้อจากร้านสะดวกซื้อและซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป จำแนกออกเป็น กลุ่มอาหารกึ่งสำเร็จรูป จำนวน 302 ตัวอย่าง กลุ่มเครื่องปรุงรส จำนวน 105 ตัวอย่าง

อ่านรายละเอียดเพื่มเติมได้ที่ : https://ffcthailand.org/news/sodium-2024

#โซเดียม #โรตไต #อาหารสำเร็จรูป #ลดเค็ม #โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง #สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

28/11/2024

งานแถลงข่าว ภัยเงียบ สมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย เครือข่ายลดบริโภคเค็ม วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 09.30 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม IVY 4 โรงแรบ ทีเค.พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น ถ่ายทอดการแถลงข่าวผ่าน Facebook Live เพจสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย

โรค NCDs ภัยเงียบ คร่าชีวิต 😰รู้ไหมว่า? คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ราว 4 แสนคน/ปี เป็นกลุ่ม วัยทำงาน 50% 😱ชวนปรับพฤติกรรม ขย...
27/11/2024

โรค NCDs ภัยเงียบ คร่าชีวิต 😰
รู้ไหมว่า? คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ราว 4 แสนคน/ปี เป็นกลุ่ม วัยทำงาน 50% 😱
ชวนปรับพฤติกรรม ขยับร่างกาย ลดเสี่ยงโรคกัน 💪🏻
ขอบคุณที่มา : สสส.
#โซเดียม #ลดเค็ม #ลดโซเดียม
#ลดเค็มลดโรค #เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

โรค NCDs ภัยเงียบ คร่าชีวิต 😰
รู้ไหมว่า? คนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ราว 4 แสนคน/ปี เป็นกลุ่ม วัยทำงาน 50% 😱
ชวนปรับพฤติกรรม ขยับร่างกาย ลดเสี่ยงโรคกัน 💪🏻
#สสส #สื่อสารสุข

26/11/2024
ขอเชิญประชาชนและผู้สนใจร่วมงาน และ รับชมการถ่ายทอดการแถลงข่าวผ่าน Facebook Live เพจสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ในหัวข้...
25/11/2024

ขอเชิญประชาชนและผู้สนใจร่วมงาน และ รับชมการถ่ายทอดการแถลงข่าวผ่าน Facebook Live เพจสมาคมเพื่อนโรคไตแห่งประเทศไทย ในหัวข้อ ภัยเงียบโซเดียมในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ( สถานการณ์ sodium ในอาหารกึ่งสำเร็จรูปและเครื่องปรุงรส ปี 2567 ) บ่อเกิดของโรค NCDs เตือนอ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค และแนะนำวิธีการอ่านฉลากก่อนบริโภค พร้อมรับชมVideo clip ในหัวข้อมาตรการและนโยบายต่างๆที่ใช้ควบคุมปริมาณโซเดียมในผลิตภัณฑ์อาหาร โดย Christine Johnson จาก Resolve to Save Lives #รู้ไว้ไม่เสี่ยงโรค

22/11/2024

ลดเค็ม สั่งได้ 🧂⬇️
เจอป้ายนี้ที่ไหน #ลดเค็ม สั่งได้เลย
ใครลองสั่งแล้ว มาแชร์กันนะคะ ✨
#โซเดียม #ลดเค็ม #ลดโซเดียม
#ลดเค็มลดโรค #เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

อร่อยเต็มเปี่ยมโซเดียมเต็มคำ เตือนก่อน "ไตพัง" ปรับเปลี่ยนการกินขอบคุณที่มา : ThaiPBSอ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👇
21/11/2024

อร่อยเต็มเปี่ยมโซเดียมเต็มคำ
เตือนก่อน "ไตพัง" ปรับเปลี่ยนการกิน
ขอบคุณที่มา : ThaiPBS
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ 👇

การกินเค็มหรือการบริโภคโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อ.....

ลดเค็ม ลด NCDsชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรค🧂การกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื...
20/11/2024

ลดเค็ม ลด NCDs
ชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรค
🧂การกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดัน โลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด 💢
#เค็มน้อยอร่อยได้
– กินอาหารจืด
– ฝึกนิสัย “ชิมก่อนปรุง”และ”ไม่ควรปรุงรสเค็ม”
– ไม่แช่อาหารในน้ำจิ้ม
– เลี่ยงของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขนมขบเคี้ยว
– การใช้สมุนไพรในอาหาร เช่น กระเทียมพริกไทย ช่วยเพิ่มกลิ่นรสในอาหารทำให้สามารถลดการปรุงเค็มได้โดยที่อาหารยังมีรสชาติที่ดีอยู่ ✨
ขอบคุณที่มา : กรมอนามัย
#โซเดียม #ลดเค็ม #ลดโซเดียม
#ลดเค็มลดโรค #เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

18/11/2024

Enjoy มื้ออร่อย 🍝✨👍
โซเดียมน้อย สุขภาพดี EP.1
#โซเดียม #ลดเค็ม #ลดโซเดียม
#ลดเค็มลดโรค #เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

กินเค็มแล้วตัวบวม จริงหรือไม่❓🧂รสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด ซึ่งรสเค็มจะเป็นตัวเร่งให้สมองเราผลิตสารโดปามีนที่...
16/11/2024

กินเค็มแล้วตัวบวม จริงหรือไม่❓
🧂รสเค็มเป็นรสที่ส่งผลต่อการกินมากที่สุด ซึ่งรสเค็มจะเป็นตัวเร่งให้สมองเราผลิตสารโดปามีนที่ทำให้เรามีความสุขและเพิ่มความพึงพอใจ ทำให้เราเกิดความรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น

🍜อาหารรสเค็มมีส่วนประกอบของโซเดียมสูง เมื่อโซเดียมเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะทำให้เลือดเสียสมดุล 💢

📍เมื่อร่างกายได้รับโซเดียมมากเกินไป ร่างกายจะดูดซึมน้ำเก็บไว้ที่ใต้ผิวหนังมากขึ้นเอาไว้เพื่อใช้ละลายโซเดียม ซึ่งใช้เวลานานกว่าจะขับน้ำออกหมด นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาที่เรากินอาหารรสเค็มแล้วทำให้ตัวบวมขึ้นนั่นเอง
#ลดเค็มลดโรค #ลดโซเดียม
#เครือข่ายลดบริโภคเค็ม

21 วันปรับลิ้น 👅🧂เปลี่ยนนิสัยกินเค็มน้อยลง 📍เมื่อเราลดการบริโภคเค็ม ร่างกายจะค่อยๆ ชินกับรสชาติที่เค็มน้อยลง โดยต่อมรับร...
14/11/2024

21 วันปรับลิ้น 👅🧂
เปลี่ยนนิสัยกินเค็มน้อยลง

📍เมื่อเราลดการบริโภคเค็ม ร่างกายจะค่อยๆ ชินกับรสชาติที่เค็มน้อยลง โดยต่อมรับรสที่ลิ้น สามารถปรับตัวได้ทุกๆ 10 วันและจะมีความไวต่อรสชาติมากขึ้นเมื่อครบ 21 วัน ลิ้นจะคุ้นเคยกับรสชาติที่เค็มน้อยลงโดยอัตโนมัติ ทำให้ไม่ต้องพึ่งเครื่องปรุงที่เค็มอีกต่อไป
ขอบคุณที่มา : เครือข่ายลดบริโภคเค็ม
#ลดเค็มลดโรค #ลดโซเดียม

ลดเค็ม ลด NCDs ชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรคการกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื...
11/11/2024

ลดเค็ม ลด NCDs ชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรค
การกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดัน โลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
ทานเค็มน้อย ก็อร่อยได้
ขอบคุณที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
#ลดเค็มลดโรค #ลดโซเดียม

ลดเค็ม ลด NCDs ชอบเติมเค็ม = ยิ่งเพิ่มโรค
การกินเค็ม หรือ ใส่เครื่องปรุงรสในอาหารมากเกินไป เสี่ยงทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคความดัน โลหิตสูง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด
เค็มน้อย อร่อยได้
– กินอาหารจืด
– ฝึกนิสัย “ชิมก่อนปรุง”และ”ไม่ควรปรุงรสเค็ม”
– ไม่แช่อาหารในน้ำจิ้ม
– เลี่ยงของหมักดอง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปขนมขบเคี้ยว
– การใช้สมุนไพรในอาหาร เช่น กระเทียมพริกไทย ช่วยเพิ่มกลิ่นรสในอาหารทำให้สามารถลดการปรุงเค็มได้โดยที่อาหารยังมีรสชาติที่ดีอยู่
ตัวอย่างอาหารที่มีโซเดียมสูง
- กุ้งแห้ง 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
- น้ำปลา 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 3/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,300 กรัม
- กะปี 1 ช้อนชา เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
- ซอสหอยนางรม 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 518 กรัม
- ซีอิ๊ว 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1/2 ช้อนชา หรือโซเดียม 880 กรัม
- บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ เท่ากับเกลือ 3/4 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,500 กรัม
- เต้าเจี้ยว 1 ช้อนกินข้าว เท่ากับเกลือ 1 ช้อนชา หรือโซเดียม 1,995 กรัม
กินเค็มแค่ไหน? ใน 1 วัน
เกลือ 1 ซ้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม
ปริมาณ เกลือ ไม่ควรกินเกิน 1 ช้อนชา ต่อวัน หรือ
ปริมาณ น้ำปลา ไม่ควรกินเกิน 4 ช้อนชา ต่อวัน
ที่มา : กรมอนามัย
#ลดเค็ม #สุขภาพ

06/11/2024

คลังจ่อเก็บ "ภาษีไขมัน – โซเดียม" หวังปรับพฤติกรรมการบริโภคคนไทย
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่าได้มอบนโยบายให้กรมสรรพสามิตศึกษาพิจารณากลไกการเก็บ ‘ภาษีโซเดียม’ หรือภาษีความเค็มในสินค้าบางประเภทที่ไม่อยู่ในสินค้าควบคุม เช่น ขนมขบเคี้ยว หรือสินค้าไม่จำเป็นจะโดนเก็บก่อนตามสัดส่วนความเค็ม ขณะเดียวกันสินค้าที่กระทบต่อประขาชนส่วนใหญ่ หรือเป็นสินค้าปัจจัยสี่ต่อผู้มีรายได้น้อยก็ต้องคำนึงไม่ให้ประชาชนกระทบ
ขณะที่ ‘ภาษีไขมัน’ ถือเป็นเรื่องใหม่ จึงให้สรรพสามิตไปเริ่มศึกษาในสินค้าบางประเภท โดยดูว่ามีไขมันดีหรือไขมันไม่ดี มีเป้าหมายเพื่อต้องการปรับพฤติกรรมให้คนไทยลดการบริโภคโซเดียม ความเค็ม และไขมัน ซึ่งตั้งเป้าคนไทยลดบริโภคเค็มลงร้อยละ 30 ภายในปี 68 ขณะเดียวกันให้มีระยะเวลาปรับตัวแก่ผู้ประกอบการก่อนกฎหมายมีผลบังคับ

#สำนักข่าววันนิวส์

น้ำจิ้มสุกี้ อร่อยตัวร้าย 👿🧂💢เพราะ "น้ำตาล" กับ  เกลือ (โซเดียม) คือสาเหตุ และเป็นผู้ร้ายที่ถูกผสมในน้ำจิ้มสุกี้ ขอบคุณท...
06/11/2024

น้ำจิ้มสุกี้ อร่อยตัวร้าย 👿🧂💢
เพราะ "น้ำตาล" กับ เกลือ (โซเดียม)
คือสาเหตุ และเป็นผู้ร้ายที่ถูกผสมในน้ำจิ้มสุกี้
ขอบคุณที่มา : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
#ลดเค็มลดโรค #ลดโซเดียม

น้ำจิ้มสุกี้...อร่อยตัวร้าย!.....
"สุกี้" กินให้อร่อยต้องมี "น้ำจิ้ม" แต่! ถ้วยเดียวไม่เคยพอ เพราะความครบรสแสนนัวของมัน มากันพร้อมหน้า ทั้งหวาน มัน เค็ม เผ็ด แต่เอ...คุณๆ นัก LOVER สุกี้ เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมกินสุกี้ ที่มีผักออกเยอะ เนื้อสัตว์ ที่ไม่ค่อยมีไขมันแยะ ทำไมเราถึงพุงป่อง แบบอ้วนลงพุง แถมตัวบวม !

ขอบอกให้เลยว่า "น้ำตาล" กับ เกลือ (โซเดียม) มันคือ ผู้ร้ายถูกผสมในน้ำจิ้มสุกี้ เมื่อเรากินเข้าไปเกินพิกัด แล้วถ้ากินบ่อยๆ อาจเสี่ยงเกิดสารพัดโรค ทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูง พ่วงมาด้วย โรคไต นี่คือ ความอร่อยตัวร้าย ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ที่เอาเรื่องนี้มาคุย ไม่ใช่จะบอกว่า เป็นแค่น้ำจิ้มในร้านนะ แต่มันยังอยู่ในขวดที่มีขายทั่วไปหลากหลายยี่ห้อ

ว่าแล้ว ... นิตยสารฉลาดซื้อ ก็เลยอยากรู้ว่า “น้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวด” สารพัดสูตร สารพัดยี่ห้อ มีส่วนผสม "น้ำตาล" กับ เกลือ (โซเดียม) ปริมาณเท่าไหร่ ทางทีมงานก็เลยระดมสรรพกำลัง เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ไปสุ่มเลือกซื้อน้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวด จำนวน 12 ยี่ห้อ ได้แก่

1.สุรีย์ น้ำจิ้มสุกี้ สูตรกวางตุ้ง
2.เมดบายต๊อด ซอสสุกี้ยากี้
3.ม้าบิน น้ำจิ้มสุกี้ -ปิ้งย่างพริกเกาหลี
4.โออิชิ น้ำจิ้มสุกี้ยากี้
5.พันท้ายนรสิงห์ น้ำจิ้มสุกี้ สูตรกวางตุ้ง
6.นีโอ สุกี้ น้ำจิ้มสุกี้ สูตรกวางตุ้ง
7.เทศไทย น้ำจิ้มสุกี้ รสกลมกล่อม
8.ซันซอส น้ำจิ้มสุกี้ สูตรเข้มข้น
9.เอ็มเค น้ำจิ้มสุกี้ สูตรต้นตำรับ
10.เชฟอาร์ต น้ำจิ้มสุกี้ สูตรกวางตุ้ง
11.แม่อิพิม น้ำจิ้มสุกี้
12.แซ่บไมค์ ซอสน้ำจิ้มสุกี้ สูตรแซ่บพริกเกาหลี

จากนั้น นำมาสำรวจฉลากเปรียบเทียบดูน้ำตาล โซเดียมและราคา รวมทั้งดูว่ายี่ห้อไหนมีหรือไม่มีวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร วัตถุกันเสียและสีด้วย เพื่อให้ผู้บริโภคใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อน้ำจิ้มสุกี้มากินให้อร่อยอย่างคุ้มค่าและปลอดภัยในมื้อต่อๆ ไปได้

สรุปผลสำรวจฉลาก เพื่อดูข้อมูลโภชนาการที่แสดงปริมาณน้ำตาลและโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ (2 ช้อนโต๊ะ) ปรากฏว่า ... ยี่ห้อเทศไทย น้ำจิ้มสุกี้ รสกลมกล่อม มีน้ำตาลมากที่สุดคือ 9 กรัม , ส่วนยี่ห้อซันซอส น้ำจิ้มสุกี้ สูตรเข้มข้น มีโซเดียมมากที่สุดคือ 820 มิลลิกรัม , ในขณะที่ยี่ห้อเชฟอาร์ต น้ำจิ้มสุกี้ สูตรกวางตุ้ง มีน้ำตาลน้อยที่สุดคือ 6 กรัม และโซเดียมน้อยที่สุดคือ 450 มิลลิกรัม

มีกรากฟิกคำอธิบายให้ดูแบบง่ายๆที่ https://www.chaladsue.com/articles/4666
รวมถึงผลสำรวจฉลากยี่ห้ออื่นๆ นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 282 สำรวจฉลาก “น้ำจิ้มสุกี้บรรจุขวด” มีข้อสังเกตด้วยว่า ตัวอย่างที่นำมาพิจารณานั้น มีที่แสดงข้อมูลโภชนาการไว้บนฉลากไม่ถึงครึ่งของตัวอย่างทั้งหมด

ด้วยพันธกิจของ “นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)" นั่นคือ การเฝ้าระวังสินค้าและบริการด้านสุขภาพเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคไทยมากว่า 30 ปี ที่สำคัญเราเป็นนิตยสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคฉบับเดียวที่ไม่รับโฆษณาจากผู้ประกอบการ เพื่อความเป็นอิสระและความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพื่อให้ผู้ทราบถึงคุณภาพสินค้า ความคุ้มค่าในการซื้อ หรือแม้แต่อาหารที่มีคุณภาพและปลอดภัย

แต่ปัจจุบันเราใช้งบประมาณระหว่าง 5 หมื่นบาท ถึง 5 แสนบาท ต่อการทดสอบ การตรวจวิเคราะห์บางเรื่อง เช่น สารเคมีปนเปื้อนในอาหาร อาจต้องใช้งบประมาณถึง 5 แสนบาท พวกเราชาวนิตยสารฉลาดซื้อ จึงขอแรงสนับสนุนจากผู้บริโภค ทั้งการสมัครสมาชิก หรือ สนับสนุนเงินบริจาคเพื่อที่ทีมงานจะได้นำไปจัดทำผลทดสอบสินค้าต่างๆเพื่อผู้บริโภคต่อไป
กดมาที่ลิงก์นี้ https://www.chaladsue.com/donate

หรือ แวะเวียนเข้ามาอ่านบทความผลทดสอบดีๆ ได้ที่ : https://chaladsue.com

#น้ำจิ้มสุกี้ #หมูกระทะ #ชาบู #โซเดียม #อร่อย #ฉลาดซื้อ #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

"เล่มเมนูอาหารท้องถิ่นลดโซเดียม 77 จังหวัด" โดยกองโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และเครือข่าย ครู ...
01/11/2024

"เล่มเมนูอาหารท้องถิ่นลดโซเดียม 77 จังหวัด"
โดยกองโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และเครือข่าย ครู ก นักกำหนดอาหารประจำจังหวัด จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในการพัฒนาปรับสูตรอาหารท้องถิ่นลดโซเดียม และรวบรวมเป็นเล่มเมนูฯ และเป็นสื่อในการส่งต่อเมนูสุขภาพ "เค็มน้อย อร่อยดี" ให้แก่ผู้สนใจ
ขอบคุณที่มา : กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค
#ลดเค็มลดโรค #ลดโซเดียม
#เครือข่ายลดบริโภคโซเดียม

"เล่มเมนูอาหารท้องถิ่นลดโซเดียม 77 จังหวัด"
โดยกองโรคไม่ติดต่อ ร่วมกับ สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย และเครือข่าย ครู ก นักกำหนดอาหารประจำจังหวัด จากโรงพยาบาลทั่วประเทศ ในการพัฒนาปรับสูตรอาหารท้องถิ่นลดโซเดียม และรวบรวมเป็นเล่มเมนูฯ และเป็นสื่อในการส่งต่อเมนูสุขภาพ
"เค็มน้อย อร่อยดี" ให้แก่ผู้สนใจ

สามารถดาวน์โหลดได้ที่
📚https://ddc.moph.go.th/dncd/journal_detail.php?publish=16356
📚https://shorturl-ddc.moph.go.th/ixreZ

⏬ติดตามข้อมูลข่าวสาร
💻http://ddc.moph.go.th/dncd
🖥 https://web.facebook.com/thaincd
📚https://twitter.com/NCD_DDC
🎬https://www.tiktok.com/

Address


Alerts

Be the first to know and let us send you an email when ลดเค็ม ลดโรค posts news and promotions. Your email address will not be used for any other purpose, and you can unsubscribe at any time.

Contact The Business

Send a message to ลดเค็ม ลดโรค:

Shortcuts

  • Address
  • Telephone
  • Alerts
  • Contact The Business
  • Claim ownership or report listing
  • Want your business to be the top-listed Health & Beauty Business?

Share